วันพุธที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิธีการทำบ้านให้น่าอยู่และมีราคา D-HOUSE IN THAILAND

8 องค์ประกอบ เพื่อเนรมิตบ้านให้น่าอยู่และมีราคา ผู้เขียน : อนุชา กุลวิสุทธิ์

            คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่า “บ้านน่าอยู่” บางอย่างของบ้านเท่านั้นคือบ้านในอุดมคติที่ทุกคนต่างถวิลหากันทั้งนั้น เพราะเป็นบ้านที่จะนำพาความสุขมาให้กับสมาชิกในครอบครัวได้อย่างมาก

            คุณค่าในแง่ความรู้สึกเช่นนี้ส่งผลทำให้บ้านชนิดนี้เวลาคิดจะขาย ก็จะขายได้ง่ายกว่าบ้านโดยทั่วไป แถมยังได้ราคาดีด้วยต่างหาก

            “ทำอย่างไรจึงจะสามารถเป็นเจ้าของบ้านน่าอยู่ได้” จึงเป็นคำถามที่ทุกคนต้องการทราบคำตอบกัน

            บางคนถึงกับอุทิศเวลาเพื่อตามล่าหาบ้านชนิดนี้กับแบบพลิกแผ่นดิน แต่จนแล้วจนรอดก็หาไม่เจอซักที

            ที่จริงแล้วการเป็นเจ้าของ “บ้านน่าอยู่” สักหลัง กลับหาใช่เรื่องยากเย็นแสนเข็ญอย่างที่หลายคนคิดกันแต่อย่างใด เพราะบ้านประเภทนี้สามารถพบเห็นได้ทุกหนแห่งและเกิดขึ้นกับบ้านได้ทุกหลัง

            แม้แต่บ้านหลังเก่าซึ่งสมาชิกในครอบครัวต่างลงความเห็นว่าไม่น่าอยู่ ไม่ดีอย่างโน้นไม่ดีอย่างนี้ ก็ล้วนสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเนรมิตให้กลายเป็นบ้านน่าอยู่ได้ทั้งสิ้น

            เพียงแค่อาศัยเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบบางอย่างเท่านั้น

            บ้านที่จะทำให้ทุกคนเราเกิดความสุขในการอยู่อาศัยได้ดี จะต้องมีคุณลักษณะต้องตามองค์ประกอบหลัก 8 ประการ ดังนี้

            1. บ้านต้องมีความสะดวก คือ สะดวกกับผู้อยู่อาศัยในการทำกิจกรรมส่วนตัวและส่วนรวม และเกิดการประหยัดทั้งเวลา แรงงานและเงิน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความสะดวกจะเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ?

           
 *เลือกทำเลบ้านอย่างเหมาะสม

            โดยเน้นให้อยู่ใกล้สถานที่ซึ่งผู้อยู่อาศัยต้องไปประจำ เช่น ที่ทำงานโรงเรียน ตลาด หรือ ห้างสรรพสิ้นค้า ฯลฯ และมีความปลอดภัยในการเดินทางด้วย เช่น ตัวบ้านจะต้องอยู่ใกล้ถนนใหญ่ ไม่ลึกหรือเปลี่ยวจนเกินไป นอกจากนี้ต้องอยู่ในย่านที่มีเพื่อนบ้านและชุมชนที่ดีด้วย ?

            
*การจัดวางผังบ้านสะดวกในการเดินทางเข้าออก

            เช่น ระยะห่างจากประตูรั้วกับประตูบ้าน ระยะห่างจากตัวบ้านไปยังบริเวณซักล้าง ตากผ้า และครัวหรือโรงรถที่แยกอยู่ต่างหาก ?

           
*แบ่งเนื้อที่และจัดเครื่องเรือนให้สอดคล้องกับกิจกรรมในบ้าน และไม่ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกอึดอัด

               เช่น กรณีห้องกว้างก็ไม่ควรจัดเครื่องเรือนกระจัดกระจาย ซึ่งจะทำให้เปลืองแรงและเสียเวลาเกินความจำเป็น ?

            
*จัดบริเวณทำงานในบ้านแต่ละจุดให้สะดวก

            โดยเน้นให้สามารถทำงานตามลำดับขั้นตอนของงานได้ง่าย ?

            
*เลือกใช้เครื่องเรือนที่ง่ายต่อการดูแลรักษาและทำความสะอาด ?
            
*จัดเก็บอุปกรณ์เครื่องใช้ให้เป็นที่เป็นทาง

               โดยจัดเก็บไว้ในห้องเก็บของ ตู้ หรือชั้นวางของ เพื่อให้บ้านดูสะอาด ไม่รกรุงรัง มีระเบียบ และไม่ต้องเสียเวลาในการค้นหา ?

             
*จัดทางสัญจรในบ้านให้มีทางเดินติดต่อถึงกันสะดวก
            ช่น ระหว่างห้องนอนพ่อแม่กับห้องนอนลูก ระหว่างห้องครัวกับห้องกินข้าว และห้องนอนกับห้องน้ำ ฯลฯ

            2. บ้านต้องอยู่แล้วสบาย

            
*คือต้องทำให้เกิดความสบายกาย สบายตา และสบายใจได้ในเวลาเดียวกัน ซึ่งปกติแล้วความสบายจะเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้

            วางตัวบ้านให้เหมาะกับทิศทางของแดดและลม โดยเน้นให้มีการหลบอแดดแต่มีการรับลม

            
*บ้านควรมีวัสดุที่ป้องกันความร้อนจากภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นความร้อนโดยตรงจากแสงอาทิตย์ หรือจากการสะท้อนหรือการแผ่รังสีความร้อน

            
*มีประตู – หน้าต่างได้สัดส่วนกับพื้นห้อง และอยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการรับลมและถ่ายเทอากาศ

            
 *รูปร่างของเครื่องเรือนเหมาะสมกับการใช้งานและมีขนาดได้ส่วนกับผู้ใช้ เช่น เลือกโต๊ะรีดผ้าที่สามารถปรับความสูงต่ำได้ ซึ่งจะช่วยได้รีดผ้าได้อย่างสบาย

            
*มีความสงบเงียบ กิจกรรมบางอย่างต้องการความเงียบ เช่น ห้องนอนหรือมุมงาน ดังนั้นห้องเหล่านี้ต้องห่างจากกิจกรรมที่มีเสียงดัง เช่น ห้องรับแขกเป็นต้น

            
*ตกแต่งหน้าต่าง ผนัง และมุมห้อง โดยตกแต่งหน้าต่างด้วยผ้าม่านเพื่อความสวยงาม กันแสง และเพื่อความเป็นส่วนตัว ผนังตกแต่งด้วยภาพหรือกระจกเงาส่วนมุมห้องให้ตั้งกระถางดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงามและสบายตา

            3. บ้านต้องมีความปลอดภัย

            
ความปลอดภัยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีส่วนสำคัญไม่น้อยในการผลักดันให้บ้านน่าอยู่ ซึ่งปกติความปลอดภัยจะเกิดขึ้นได้จากสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้


            เลือกวัสดุก่อสร้าง และวิธีสร้างบ้านอย่างเหมาะสมไม่ให้เกิดการทรุด และต้องทำระดับพื้นบ้านให้สูงเสมอกันเพื่อกันสะดุดหรือหกล้ม ส่วนพื้นห้องน้ำปูด้วยวัสดุที่ไม่ลื่นและทำความสะอาดได้ง่าย


            มีอุปกรณ์กันไฟช็อต ไฟไหม้ โดยติดตั้งอุปกรณ์ตัดไฟรั่ว และมีน้ำยาเคมีดับเพลิงไว้ประจำบ้าน จัดให้มีความสะดวกในการหนี้ไฟ เช่น มีประตูและบันไดหนี้ไฟ เป็นต้น


            เก็บยาและสารเคมีที่เป็นพิษไว้ในที่มิดชิดและแยกไว้ต่างหาก
โดยไม่เก็บรวมกับอาการหรือยาอื่นๆ


            4. บ้านต้องถูกสุขลักษณะ ซึ่งอาจทำได้ดังนี้


            มีการระบายอากาศที่ดี เลือกบ้านที่ไม่ตั้งอยู่ในย่านอุตสาหกรรม หรือชุมชนแออัดวางตัวบ้านให้ถูกทิศทางลม และมีประตูหน้าต่างเพียงพอให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

            มีระบบระบายน้ำภายในบ้านที่ด

การถ่ายเทน้ำเสียหรือน้ำเหลือใช้สู่ท่อระบายน้ำสาธารณะจะต้องทำได้ง่ายและสะดวก เพื่อไม่ให้น้ำขังอยู่ในบ้าน ซึ่งจะเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรค ยุง แมลงและกลิ่น


            มีความสะอาด
ต้องทำความสะอาดทั้งในบ้านและบริเวณรอบบ้านตลอดจนเครื่องเรือนเครื่องใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา


            มีห้องน้ำห้องส้วมที่สะอาดและถูกสุขลักษณะ


            มีที่รองรับขยะและกำจัดขยะทุกวัน


            5. บ้านต้องมีความเป็นสัดส่วน
            ซึ่งจะ ช่วยลดความขัดแย้งในครอบครัวได้มาก ทั้งนี้บ้านจะน่าอยู่ได้จำเป็นต้องมีที่ที่ให้ทุกคนสามารถหาความสุขสงบเป็นส่วนตัวได้เมื่อต้องการคือต้องมีลักษณะดังนี้


            มีความเป็นสัดส่วนหรือความเงียบสงบ


            ปราศจากการรบกวนจากภายนอกบ้าน เช่น จากเพื่อนบ้าน โดยควรมีรั้วที่สามารถกันฝุ่น เสียง และช่วยให้พ้นสายตาบุคคลภายได้นอก ? มีความเป็นสัดส่วนภายในบ้าน เช่น ห้องนอนแยกห่างจากห้องนั่งเล่นหรือห้องรับแขก มุมทำงานแยกจากห้องพักผ่อนหรือห้องนั่งเล่นห้องรับแขกและบริเวณพักผ่อนควรจัดให้พ้นจากกลิ่นและเสียงจากครัว


            6. บ้านต้องส่งเสริมความสัมพันธ์อันดี

            โดยจัดเนื้อที่ใช้สอยภายในบ้านให้เหมาะสมกับกิจกรรม และให้สมาชิกทุกคนได้รับความสะดวกสบาย อยู่ร่วมกันด้วยความอบอุ่นและเข้าใจซึ่งกันและกัน เช่น ในบ้านควรมีห้องหนึ่งกว้างพอที่จะเป็นที่รวมของทุกคน เพื่อใช้พบปะพูดคุยปรับทุกข์หรือทำงานร่วมกัน หรือมีที่กินอาหาร ที่พักผ่อนร่วมกัน และมีเครื่องเรือนใช้เพียงพอกับจำนวนสมาชิกเมื่ออยู่พร้อมหน้ากัน และสามารถใช้เป็นที่รับรองเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนได้ การสร้างบรรยากาศเหล่านี้เป็นช่องทางให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนมรักใคร่ผูกพันกัน นำความสุขสงบและความก้าวหน้ามาสู่ครอบครัวและชุมชนได้เป็นอย่างดี


            7. บ้านต้องสวยงาม


            การตกแต่งบ้านสามารถบอกอุปนิสัยและรสนิยมของเจ้าของบ้านได้ สำหรับภายในบ้านการเลือกเครื่องเรือนเครื่องใช้ต้องคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของผู้อยู่อาศัย โดยสิ่งที่ควรคำนึงไปพร้อมๆ กับความสวยงามก็คือประโยชน์ใช้สอย และในขณะเดียวกันต้องพิจารณาการเลือกใช้วัสดุรูปทรงและสี ที่ง่ายและสะดวกในการทำความสะอาดและบำรุงรักษาด้วย


            8. บ้านต้องมีการตกแต่งบริเวณบ้าน


            บริเวณบ้านจัดเป็นสถานที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพื้นที่ภายในบ้าน เพราะเป็นจุดแรกที่ผู้เดินผ่านหรือแขกได้เห็นก่อนสิ่งอื่น การจัดสวน จัดบริเวณสนามจะช่วยให้บ้านดูร่มรื่นสวยงามน่าอยู่ต้นไม้ที่ปลูกในบริเวณบ้านสามารถช่วยลดความกระด้างของตัวอาคาร ร่มเงาของต้นไม้ช่วยคลายความร้อน บริเวณรอบนอกสามารถจัดเป็นลานนั่งเล่น เป็นที่พักผ่อนรับแขก จัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง และยังใช้เป็นมุมสงบส่วนตัวได้เป็นอย่างดีอีกด้วย


            ในทางปฏิบัติแล้วบ้านส่วนใหญ่มักมีข้อจำกัดเฉพาะตัว ที่ไม่สามารถจัดการองค์ประกอบ เช่น บ้านเก่า องค์ประกอบที่มักไม่สามารถจัดการหรือเปลี่ยนแปลงได้เลยก็คือทำเลที่ตั้งและการวางแผน


            อย่างไรก็ดีแม้องค์ประกอบบางอย่างจะแก้ไขใดๆ ไม่ได้ แต่ก็ยังคงมีองค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ยังคงสามารถจัดการได้อยู่ หลักการง่ายๆในการทำบ้านให้น่าอยู่ก็คือ ยิ่งปรับปรุงได้มาก องค์ประกอบเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสร้างเสริมความน่าอยู่ให้กับบ้านได้มากเพียงนี้


ที่มา : บ้านพร้อมที่อยู่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 104 กรกฎาคม 2550

บ้านที่อบอุ่น น่าอยู่ ทำอย่างไร โดย ดร.สมัย เหมมั่น บ้านสิวารัตน์ D-HOUSE BOOK

  1. สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกายและจิตใจ
  2. สุขนิสัยที่ดีในเรื่องสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและพฟติกรรมอนามัยสิ่งแวดล้อม
  3. ป้องกันและลดอัตราการเกิดโรค อุบัติเหตุ ปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งอาชญากรรมในสังคม
  4. ครอบครัวอบอุ่น มีความรัก เอื้ออาทรต่อกันซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาประเทศ
  5. ชุมชนเข้มแข็ง มีความรัก / สามัคคี ร่วมแรงร่วมใจพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น นำไปสู่การเป็นบ้านเมืองน่าอยู่และเมืองไทยแข็งแรง(Healthy Thailand) จะทำบ้านให้น่าอยู่ได้อย่างไร การจัดสภาพบ้านเรือนให้น่าอยู่ น่าอาศัย ให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล พึงควรคำนึงถึง ตัวบ้าน บริเวณบ้าน ภายในบ้าน สุขภาวะในครอบครัว ตัวบ้าน มั่นคง แข็งแรง ไม่มีส่วนใดชำรุด เช่น พื้นบันได ลูกกรง เป็นต้น เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับสมาชิกในครอบครัว บริเวณบ้าน
  6. สะอาด ร่มรื่น เป็นระเบียบ จัดเก็บสิ่งของเป็นสัดส่วน
  7. ในกรณีที่มีการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย ไก่ เป็นต้น ต้องจัดคอกสัตว์ให้ไกล อยู่นอกตัวบ้าน ล้างทำความสะอาดสม่ำเสมอ (ไม่ควรมีคอกสัตว์ใต้ถุนบ้าน)
  8. ไม่มีขยะทุกชนิด ป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน แมลงสาบ และแหล่งอาหารหนู
  9. ไม่มีน้ำขังในหลุมบ่อ หรือภาชนะต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  10. ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น ภายในบ้าน
  11. อากาศถ่ายเทสะดวก
  12. มีแสงสว่างเพียงพอ
  13. จัดห้อง / พื้นที่ใช้สอยเป็นสัดส่วน จัดเก็บข้าวของเครื่องใช้เป็นระเบียบ ทำความสะอาดประจำสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  14. แยกขยะก่อนทิ้ง
  15. มีที่รองรับขยะ ทิ้ง / กำจัดขยะสม่ำเสมอ(ไม่ควรมีขยะตกค้างในบ้านและบริเวณบ้าน)
  16. มีน้ำดื่มน้ำใช้สะอาด(น้ำประปา น้ำกรอง น้ำต้ม เป็นต้น)เพียงพอ
  17. ป้องกันไม่ให้ยุงกัด(นอนกางมุ้ง / ติดมุ้งลวด)
  18. กำจัดแหล่งยุงในบ้าน
  19. อาหารปรุงสุก มีภาชนะปกปิด (เช่นฝาชีครอบหรือใส่ตู้กับข้าว หรือตู้เย็น)
  20. หมั่นบำรุงรักษา ดูแลตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดให้อยู่ในสภาพดี
  21. ไม่เปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทิ้งไว้โดยไม่จำเป็น สุขภาวะในครอบครัว เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดีของทุกคน สมาชิกในครอบครัวจะ
  22. อาบน้ำ แปรงฟัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  23. ล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย
  24. รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ๆ สะอาด ปราศจากสารอันตรายต่อร่างกาย
  25. ควรมีภาชนะดื่มน้ำของตัวเอง(ไม่ควรใช้ปะปนกัน เพื่อป้องกันโรคติดต่อ)
  26. ควรใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เวลาไอหรือจามทุกครั้ง
  27. ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า เสพสารเสพติด และเล่นการพนันทุกชนิด รวมทั้งไม่ส่ำส่อนทางเพศ
  28. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
  29. ตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  30. เข้าวัด โบสถ์ มัสยิด ทำบุญ ร่วมสาธารณะกุศล

AEC 2558


A- A A+

ข้อมูลด้านต่างๆ